เปิดตำนานเสือ!! 4 ขุนโจรจอมขมังเวทย์ โรบินฮู้ดเมืองไทย…
เสือใบ
มีชื่อจริงว่า ใบ สะอาดดี เป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นจอมโจรชื่อดังในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่โด่งดัง
ก่อนเป็นโจร ก็เป็นชาวนา บ้านอยู่ จ.สุพรรณบุรี พอช่วงปี 2487 ตอนนั้นอายุประมาณ 30 ปี ที่บ้านถูกโจรวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งเข้ามาขโมยควาย ตอนนั้นไม่คิดแค้น อะไรเพราะไม่มีการเสียเลือดเนื้อ แต่อีก 5 เดือนต่อมา โจรกลุ่มเดิมได้ย้อนกลับมาปล้นที่บ้านอีกครั้ง คราวนี้ฉุดน้องเมียไปด้วย จึงแค้นมากคว้าปืนลูกซองออกตามล่าโจรและตามน้องเมียกลับคืนมา สุดท้ายฆ่าโจรตายไป 2 ศพ ถูกตำรวจตามจับ จึงหนีออกจากบ้านเข้าสู่เส้นทางสายโจร มาอาศัยในป่าแถบ จ.อ่างทอง เพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุมของตำรวจ เมื่อไม่มีเงินซื้อข้าวก็ออกปล้น จนมีชื่อเสียงในวงการโจร มีลูกน้องเพิ่มขึ้นถึง 40 คน หลังจากนั้นก็เข้าไปอยู่ในสังกัด ซุ้มเสือดำ เป็น 1 ใน 4 เสือที่ทางการต้องการตัวมากที่สุด
พื้นที่ปล้นจะอยู่ในเขต จ.อ่างทอง สิงห์บุรี และชัยนาท ส่วนสุพรรณบุรีจะไม่ปล้นเพราะเป็นเขตอิทธิพลของเสือดำ ถือเป็นเขตเดียวกันจะไม่เข้าไปรบกวน โดยเลือกปล้นเฉพาะคนรวยหน้าเลือด ได้เงินมาจากการโกงคนจน คนรวยที่มีคุณธรรมช่วยเหลือชาวบ้านเราจะไม่ปล้น และการปล้นแต่ละครั้งจะไม่เอาทรัพย์สินหมด เอาครึ่งเดียว ใช้วิธีปล้นแบบขอเจ้าทรัพย์ สิ่งไหนเจ้าทรัพย์ไม่ให้ก็ไม่เอาและห้ามทำร้ายเจ้าทรัพย์เด็ดขาด ยกเว้นจะขัดขืนต่อสู้ เมื่อปล้นมาได้จะนำทรัพย์สินบางส่วนไปให้คนจน
จนกระทั่งถูกตำรวจจับ ตำรวจผู้ปราบเสือใบ ชื่อ ผู้กองยอดยิ่ง สุวรรณากร และศาลตัดสินประหารชีวิต แต่ผมรับสารภาพ ศาลจึงลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต ต่อมาได้รับการอภัยโทษเหลือจำคุก 20 ปี แต่ขณะถูกคุมขังมีพฤติกรรมดี โดยวันหนึ่งมีนักโทษชายคนหนึ่งใช้มีดจะทำร้ายผู้คุม ผมเห็นจึงเข้าไปช่วยเหลือ เลยได้ลดโทษออกมาจากคุก แล้วเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง อดีต เสือใบ กล่าว พร้อมให้ข้อคิดถึงเยาวชนรุ่นหลังว่า
“อยาก ให้ลูกหลานที่ เกเร รู้ว่าการเป็น โจร เป็นเสือมันไม่ดีเพราะต้องอยู่แบบหลบซ่อนตัวตลอดเวลา และทรัพย์สินที่ปล้นมาอยู่ไม่ได้นาน จึงอยากจะให้ทุกคนตั้งใจทำงาน ขยันหมั่นเพียรเข้าไว้ อยากได้อะไรก็ค่อย เก็บหอมรอมริบ เอา เดี๋ยววันหนึ่งเราจะได้สิ่งที่เราต้องการเอง “
เสือมเหศวร
มีชื่อจริงว่า ศวร เภรีวงษ์ เกิดและเติบโตที่จังหวัดสุพรรณบุรี อดีตเคยรับราชการทหาร แต่หลังจากถูกปลดประจำการ ก็โดนอำนาจรัฐรังแกใส่ความว่าฆ่าพ่อตัวเองและยังถูกตามล่าจากคนที่ฆ่าพ่อตัวเองอีกด้วย จึงต้องหนีตายหัวซุกหัวซุนและได้เข้าไปอยู่กับซุ้มเสือฝ้าย ร่ำเรียนวิชาอาคมต่างๆจนชำนาน และด้วยความแค้นมันสุมอก จึงได้กลับไปแก้แค้นคนที่ฆ่าพ่อของตัวเอง หลังจากนั้นก็เดินบนเส้นทางโจรเรื่อยมา
เสือดำ
มีชื่อจริงว่า ระพิน ได้ชื่อว่าเสือดำ จากการสวมชุดดำเวลาออกปล้น และใช้ปืนคู่ แต่เมื่อเวลาออกปล้นจะต้องประกาศให้เจ้าทรัพย์รู้ก่อนล่วงหน้าเป็นสัปดาห์และปล้นด้วยความสุภาพ นิยมปล้นแต่คนรวยให้คนยากจน จนได้รับฉายาว่า สุภาพบุรุษเสือดำ
ปัจจุบันหันหน้าสู่ “ร่มผ้าเหลือง” บวชเป็นพระได้ฉายาว่า “หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร” ย้อนให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของการก้าวเข้าสู่ “เส้นทางสายโจร”
“หลวงพ่อทวีศักดิ์” หรืออดีต “เสือดำ” เล่าถึงทางโจรที่ทำให้พบ “เสือมเหศวร” และ “เสือใบ” ว่า ช่วงนั้นก็ออกปล้นเรื่อยมา จนมาพบกับ เสือมเหศวรและเสือใบ ซึ่งหัวอกเดียวกัน เพราะทั้งสองถูกโจรปล้นบ้านและต้องการแก้แค้น จึงปรึกษากันว่าจะทำอย่างไร ขณะนั้น สมุนยังไม่มี จึงแยกทางกันไปสร้างชื่อ เพื่อหาลูกน้อง จนมีลูกน้องติดตาม 50-60 คน จึงตั้งเป็น “ซุ้มเสือดำ”!!!
เมื่อบ้านมีกฏบ้าน เมืองมีกฏเมืองชุมโจร ก็มีกฏของชุมโจร….หลวงพ่อทวีศักดิ์ บอกว่า เล่าต่อว่า ในการปล้นของเรามีกฎเหล็ก ว่าจะปล้นแบบ ผู้ดี คือ จะออกปล้นช่วงต้นเดือนและปลายเดือน ก่อนเข้าปล้นจะประกาศล้วงหน้าว่าจะปล้นที่ไหน วันและเวลาใด เพื่อให้เจ้าทรัพย์เตรียมตัวไว้ก่อน เมื่อถึงเวลาเราก็มาปล้น สมัยนั้นใช้ม้าเป็นพาหนะ มีปืนคู่กายคนละ 2 กระบอกและกระสอบใส่ทรัพย์สินคนละใบ ก่อนลงมือจะยิงปืนขึ้นฟ้า 3 นัดเป็น สัญญาณเตือน ให้คนในหมู่บ้านรู้ว่ามาปล้นแล้ว จากนั้นจะนำกระสอบไปวางไว้ตามจุดต่างๆเพื่อให้ชาวบ้านนำทรัพย์สินมาใส่ เป็นการป้องกันเหตุ นองเลือด เวลาทำงาน หรือฤกษ์ปล้น คือ ตั้งแต่แสงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงแสงอาทิตย์ขึ้นเหนือฟ้าอีกครั้ง เราก็เก็บกระสอบกลับออกไป
“กฏเหล็กสำคัญที่สุดของซุ้มเสือดำ คือ ห้ามข่มขู่หรือทำร้ายเจ้าทรัพย์ นอกจากเจ้าทรัพย์จะฮึดสู้ทำร้ายเราก่อน นอกจากนั้นสมุนทุกคนต้องอยู่ในศีลธรรม ห้ามยุ่งเกี่ยวกับสาวในหมู่บ้าน ห้ามปล้นโรงสีข้าวเด็ดขาด เพราะจะทำให้เราไม่มีข้าวกิน ห้ามปล้นตลาดสดเพราะเป็นจุดรวมของเด็ก คนแก่ และคนทั่วไป ถ้าพบลูกน้องคนใดทำผิดกฎจะฆ่าทิ้งทันที เพราะถือว่าผิดสัจจะของกลุ่มโจร ส่วนทรัพย์สินที่ปล้นมาจะแบ่งเป็น 5 ส่วน คือ 1.ค่าอาหาร 2.ค่ากระสุนปืน 3.แบ่งไว้ช่วยเหลือคนจน 4.ช่วยเหลือโรงเรียน และ 5.ช่วยเหลือวัด…..
“เส้นทางสายโจร” ของ “เสือดำ” และเหล่าสมุน รุ่งโรจน์และโรยด้วยกลีบกุหลาบมาตลอด จนกระทั่งการมาถึงของ “ขุนพันธ์” เส้นทางสายโจรของพวกเขาก็เริ่มตีบตัน…..อดีตเสือดำ เล่าถึงชีวิตในช่วงต่อมา ว่า ช่วงปี 2495-2499 ทางการเริ่มปราบปรามกลุ่มโจรอย่างหนัก เรา 3 เสือ คือ “เสือดำ-เสือใบ-เสือมเหศวร” เป็นที่ต้องการตัวของทางการมาก มีค่าหัวคนละหลายหมื่นบาท การปล้นเริ่มมีอุปสรรค บางครั้งถึงขั้นต้องดวลปืน กับตำรวจ แต่เราก็อยู่รอดปลอดภัยมาตลอดเพราะมีวิชาอาคมที่เรียนรู้มาจากครูบาอาจารย์ จนมาวันหนึ่งเรามีโอกาสได้ดวลปืนกับขุนพันธ์ ที่ยกกำลังมาดักจับที่ จ.ชัยนาท และวันนั้นก็ทำให้เรา “กลับใจ”
“ครั้งนั้นต่างคนต่างมีวิชาอาคมทั้งคู่ ทำอะไรกันไม่ได้และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาขุนพันธ ก็นำกำลังออกไล่ล่าดวลปืนกันอีกหลายครั้ง จนสุดท้ายขุนพันธ์ ได้นัดคุยกันอย่างลูกผู้ชายกับเราว่าต่างคนต่างมีอาคม คงทำอะไรกันไม่ได้ จึงขอให้เราเลิกเป็นโจร หยุดปล้น ถ้าหยุดตำรวจจะยกเลิกการจับกุมทุกหมายจับ แต่ต้องกลับตัวเป็นคนดีและเริ่มต้นชีวิตใหม่ เรากลับมานอนคิดอยู่ 3 วัน เราปล้นมา 20 ปี ไม่มีอะไรดีขึ้น จึงตัดสินใจหยุดเป็นโจร แบ่งเงินให้ลูกน้อง แล้วแยกย้ายกันไปทำมาหากินอย่างถูกกฎหมาย เราได้ออกบวชศึกษาธรรมมะ เพื่อหวังว่าบุญจากการบวชจะทดแทนสิ่งที่ได้ทำผิดไปได้บ้าง
เสือฝ้าย
มีชื่อจริงว่า ฝ้าย เพ็ชนะ เป็นชาว อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เส้นทางโจรของเสือฝ้ายเริ่มต้นจากการถูกใส่ร้ายโดยหลานเขยซึ่งใกล้ชิดกับตำรวจ ทำให้เสือฝ้ายผู้บริสุทธิ์ต้องถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลอันตรายต่อชุมชนและรัฐ ต้องโทษทุกข์ทรมานแปดปีในสถานกักขัง ไม่สามารถอุทรความบริสุทธิ์ของตนเองได้ จำต้องรับกรรมในคุกจากความผิดที่ไม่ได้ก่อ เจ้าตัวจึงปวารณาไว้ว่า เมื่อรัฐเล่นตลกกับข้า ข้าก็จะสร้างเสียงหัวเราะให้พวกมัน! หลังจากได้รับอิสรภาพ เสือฝ้ายก็เปิดตำนานสร้างชื่อกลายเป็นจอมโจรผู้ยิ่งใหญ่
โดยเสือฝ้ายจะเลือกปล้นเฉพาะคนรวยและผู้มีอำนาจในท้องถิ่นนั้นๆที่ชอบขี้โกง ฉ้อฉล ขูดรีด หรืออาศัยอำนาจบารมีให้ตัวเองร่ำรวย ส่วนทางด้านทรัพย์สินที่ได้มา เสือฝ้ายจะนำไปจากจ่ายให้ถึงมือชาวบ้าน ทั้งในรูปแบบกู้ยืม ให้ฟรีหรือบริจาค เพื่อให้ชาวบ้านได้ลืมตาอ้าปากได้ ด้วยสาเหตุนี้เสือฝ้ายจึงถูกตามจับได้ยากเพราะเป็นที่รักใคร่ของชาวบ้านและยังช่วยกันปกป้อง กลุ่มเสือฝ้ายเป็นชุมโจรที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โจรเมืองไทย เพราะมีสมุนโจรรวมกันไม่ต่ำกว่า 100 ถึง 200 คน
ภายหลังในปี พ.ศ. 2489 เสือฝ้ายได้ช่วยเหลือทางการในการปราบปรามชุมโจรอื่นๆ และเข้ามอบตัวในที่สุด แต่แล้วในระหว่างทางที่เสือฝ้ายถูกควบคุมตัวไปกรุงเทพฯ จะเกิดเหตุอะไรขึ้นไม่ทราบ เสือฝ้ายได้ถูกนายร้อยตำรวจเอกที่ควบคุมตัวกระทำวิสามัญฆาตกรรมที่วัดโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
ขอขอบคุณที่มา : pakyok.com/328.html
0 comments: